วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การสร้าง VLAN และการเข้าเป็นสมาชิกของ VLAN

การสร้าง VLAN และการเข้าเป็นสมาชิกของ VLAN
     มีอยู่ 2 วิธีในการเซตให้พอร์ตของสวิตซ์ (ส่งผลถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต่ออยู่กับพอร์ตของสวิตซ์) เข้าเป็นสมาชิกของ VLAN ได้แก่ static VLAN และ dynamic VLAN
Static VLANs

     Static VLAN หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “port-based membership” (การเป็นสมาชิกของ VLAN โดยพิจารณาจากพอร์ต) ในลักษณะนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ปลายทางจะเป็นสมาชิกของ VLAN โดยขึ้นกับพอร์ตสวิตซ์ที่มันคอนเน็กอยู่ด้วย
     พอร์ตของสวิตซ์จะถูกเซตให้เป็นสมาชิกของ VLAN โดยการเซตอัพของผู้ดูแลระบบ ถึงแม้เครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องจะเชื่อมต่ออยู่บนสวิตซ์ตัวเดียวกัน แต่หากพอร์ตที่มันเชื่อมอยู่เป็นสมาชิกของต่าง VLAN กัน เครื่องสองเครื่องดังกล่าวจะไม่มีทางสื่อสารกันได้ ในการทำให้เครื่องที่อยู่ต่าง VLAN กันพูดคุยกันได้ เราจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เลเยอร์ 3 อย่างสวิตซ์เลเยอร์ 3 และเร้าเตอร์เข้ามาช่วย
การคอนฟิก static VLAN

ขั้นแรก ต้องสร้างหมายเลข VLAN ขึ้นมาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ VLAN (VLAN Database ต่อไปบางทีผู้เขียนจะเรียกทับศัพท์ว่า “ดาต้าเบสของ VLAN”) ก่อน ในขั้นที่สอง จึงค่อยแมปหมายเลข VLAN นั้นเข้ากับพอร์ตของสวิตซ์อีกครั้ง
      ในการคอนฟิก Static VLAN บนสวิตซ์แบบ IOS BASED ขั้นตอนและคำสั่งมีดังนี้
Switch#   vlan database     <-- เป็นคำสั่งที่ใช้เข้าสู่ฐานข้อมูลหรือดาต้าเบสของ VLAN
Switch (vlan)# vlan <หมายเลข VLAN> name <ชื่อของ VLAN –มีหรือไม่ก็ได้>
Switch (vlan)# exit
Switch#configure  terminal
Switch (config) #interface interface-type module/number      <-- เช่น interface fa0/1
Switch (config-if) #switchport mode access      <-- ให้พอร์ตทำงานอยู่ในโหมด access (อ่านเพิ่ม                                                            เติมในหัวข้อต่อไป)              
Switch (config-if) #switchport access vlan <หมายเลข VLAN> แมปพอร์ตให้เป็นสมาชิกของ VLAN
Switch (config-if) #end

หมายเหตุ ################################################
                      เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้าง VLAN บนสวิตซ์แบบ IOS BASED

1. ถ้าหากเราเข้าสู่อินเตอร์เฟซคอนฟิกกูเรชันโหมดก่อน แล้วพิมพ์คำสั่ง swicthport access vlan <หมายเลข VLAN> ก่อนที่จะสร้างหมายเลข VLAN ภายใน VLAN Database สวิตซ์จะจัดการสร้างหมายเลข VLAN นั้นขึ้นมาใน VLAN Database ให้โดยอัตโนมัติ

2. สำหรับสวิตซ์บางรุ่นเช่น รุ่น 3550 เราสามารถสร้างหมายเลข VLAN จากโกลบอลคอนฟิกกูเรชันโหมดได้ เช่น Switch(config)#vlan <หมายเลข VLAN>  จากนั้นมันจะให้ใส่ชื่อของ VLAN แล้ว exit ออกมา

3. ก่อนการสร้างหมายเลข VLAN ควรมีการพิจารณาใช้งานโปรโตคอล VTP ก่อนทุกครั้ง (อ่าน VTP ในหัวข้อถัดไป) ว่าจะให้สวิตซ์ปัจจุบันทำงานในโหมดใดและจะสร้างหมายเลข VLAN จากศูนย์กลางหรือไม่ หรือจะสร้างบนแต่ละสวิตซ์แยกกัน
###########################################################

      ในการคอนฟิก static VLAN บนสวิตซ์แบบ SET BASE ขั้นตอนและคำสั่งมีดังนี้

ตัวอย่างเช่น คำสั่งข้างล่างนี้จะสร้าง VLAN หมายเลข 80 ขึ้นมาและแมปเข้ากับพอร์ต 3/4 – 3/7

Console (enable) set vlan 80 3/4  - 7
VLAN  80 modified.
VLAN  Mod/Port
--------  ---------------
80 3/4 -7
Console (enable)

     ในการตรวจเช็คดูว่า บนสวิตซ์ปัจจุบันมีอยู่กี่ VLAN และมีเลขหมายใดบ้าง ให้ใช้คำสั่ง show vlan และถ้าต้องการดูหมายเลข VLAN แบบสรุปย่อ ให้ใช้คำสั่ง show vlan brief เอาต์พุทข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างของคำสั่ง show vlan

2950Swicth11#sh vlan

VLAN    Name                    Status               Port
--------   -------------        -----------    ------------------------------------------------------------
1            default                   active                Fa 0/24,  Gi 0/2

10          VLAN                   active                Fa 0/16,  Fa 0/17,  Fa 0/18,  Fa0/19,  Fa0/20,                                
                                                                    Fa0/21, Fa0/22, Fa0/23

12           VLAN                  active                Fa0/1,  Fa0/2,  Fa0/3,  Fa0/4,  Fa0/5,  Fa0/6,                                          

                                                                    Fa0/8,  Fa0/9,  Fa0/10,  Fa0/11,  Fa0/12,                                                                                                                        

                                                                    Fa0/13,  Fa0/14,  Fa0/15

(ตัดเอาต์พุตด้านล่างบางส่วนออกไปเพื่อความกระชับ)

      เอาต์ทุตข้างต้นแสดงว่าพอร์ตตั้งแต่ fa0/1 – fa0/15 ได้รับการแมปให้เป็นสมาชิกของ VLAN หมายเลข 12 และพอร์ตตั้งแต่ fa0/16 – fa0/23 ได้รับการแมปให้เป็นสมาชิกของ VLAN หมายเลข 10

หมายเหตุ #####################################################
จำนวนหมายเลข VLAN ที่สามารถสร้างและจัดเก็บในดาต้าเบส VLAN ได้สูงสุดจะขึ้นอยู่กับสวิตซ์รุ่นนั้นๆให้ศึกษาดูจากคู่มือของแต่ละรุ่นอีกครั้งหนึ่งหรือไม่ก็ลองใช้คำสั่ง show vtp status และสังเกตฟิลด์ที่เขียนว่า “Maximum VLAN supported locally”

2950Swicth11#sh vtp status
VTP Version   :   2
Configuration Revision   :   11
Maximum  VLANs supported locally   :   250       <--
3750Swicth22#sh vtp status
VTP Version   :   2
Configuration Revision   :   0
Maximum VLANs supported locally   :   1005       <--
##############################################################

Dynamic VLAN

      Dynamic VLAN เป็นการกำหนด VLAN ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้โดยพิจารณาจากหมายเลข MAC Address เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับพอร์ตของสวิตซ์ สวิตซ์ จะตรวจเช็กหมายเลข  MAC Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และส่งหมายเลขดังกล่าวไปเช็กที่ฐานข้อมูลกลางเซิร์ฟเวอร์เพื่อดูว่าหมายเลข MAC Address ดังกล่าวเป็นสมาชิกของ VLAN ใด ผู้ดูแลระบบสามารถแมปความสัมพันธ์ระหว่าง MAC Address กับหมายเลข VLAN ได้โดยการเซตฐานข้อมูลที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่เป็น VLAN Membership Policy Server (VMPS)
      สำหรับสวิตซ์ของซิสโก้ dynamic VLAN สามารถถูกสร้างและเซตอัพได้ผ่านทางการใช้เครื่องมือบริหารจัดการอย่างเช่น CiscoWorks 2000 หรือ CiscoWorks for Switched Internetwork (CWSI) ถึงแม้ว่า dynamic VLAN ดูเหมือนจะให้ความยืดหยุ่นในการจัดสรร VLAN แต่มันก็เพิ่มภาระที่ค่อนข้างมากทีเดียวให้กับผู้ดูแลเน็ทเวิร์กและไม่ได้รับความนิยม


หมายเหตุ ###########################################################
     เรื่องของ dynamic VLAN เป็นหัวข้อที่ไม่ค่อยพบเห็นในการใช้งานจริงในปัจจุบัน อีกทั้งยังไม่ได้ถูกจัดให้เป็นหัวข้อสำหรับการออกสอบใน CCNA, CCNP ดังนั้น ผู้เขียนจะขอละไว้เพียงแค่นี้ ให้รู้จักความหมายของ dynamic VLAN เท่านั้นเป็นพอ
####################################################################

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น